ประชุมการสรุป (ร่าง) ข้อเสนอ “มหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่องค์กรสุขภาวะอย่างยั่งยืน” เป็นนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2567 – 2570

     วันที่ 21 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้องสระบัว (109) ชั้น 1 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และ ระบบ Zoom Cloud Meeting โครงการศูนย์วิชาการมหาวิทยาลัยแห่งความสุขกับการสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักสนับสนุนองค์กรสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขกว่า 60 แห่งทั่วประเทศ  จัดประชุมการสรุป (ร่าง) ข้อเสนอ “มหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่องค์กรสุขภาวะอย่างยั่งยืน” เป็นนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2567 – 2570 เพื่อนำข้อเสนอแนะจากที่ประชุมมาปรับเป็นข้อเสนอฯ ฉบับสมบูรณ์ พร้อมเสนอต่อกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมภายในเดือน กรกฎาคม 2567


                                                     


     ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฎ ประธานกรรมการบริหารแผน 4 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และได้เน้นย้ำว่า สสส. ให้ความสำคัญกับการมีสุขภาวะที่ยั่งยืน โดยมุ่งเน้นประเด็นสำคัญ ได้แก่ สุขภาพจิต อาหาร แอลกอฮอล์ บุหรี่  “อยากเห็นสุขภาวะอย่างยั่งยืนของบุคลากรที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย ส่งผ่านไปถึง นิสิต/นักศึกษา ที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มหาวิทยาลัยภาคีเครือข่ายทุกแห่ง จะมีสุขภาวะที่ยั่งยืน และร่วมกันนำ ข้อเสนอ “มหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่องค์กรสุขภาวะอย่างยั่งยืน” เป็น นโยบายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่องค์กรสุขภาวะอย่างยั่งยืน ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ต่อไป

  

      รศ.ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต ผู้จัดการโครงการฯ นำเสนอ (ร่าง) ข้อเสนอ “มหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่องค์กรสุขภาวะอย่างยั่งยืน” ให้ที่ประชุมฯ ร่วมกันอภิปรายและให้ข้อเสนอแนะ สรุปเป็นข้อเสนอฯ ฉบับสมบูรณ์ พร้อมเสนอต่อกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อไป

   

     ศาสตราจารย์นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว ยินดีที่มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นหนึ่งในภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความุขต้นแบบที่ได้ร่วมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแห่งความสุขร่วมกับอีกกว่า 60 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และพร้อมที่จะร่วมผลักดัน มหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่องค์กรสุขภาวะอย่างยั่งยืนเป็นนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2567 – 2570 และกล่าวขอบคุณในนามคณะผู้ประสาน ศูนย์วิชาการมหาวิทยาลัยแห่งความสุขกับการสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล


     คุณวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้ข้อเสนอแนะ ว่า “การประชุมครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการปรับรายละเอียดของ (ร่าง) ข้อเสนอฯ เนื่องจากได้รับความร่วมมือจากหลายภาคีเครือข่ายในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าการสร้างเสริม “มหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่องค์กรสุขภาวะอย่างยั่งยืน” มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและสถาบันความรู้ของประเทศ พร้อมทั้งกล่าวปิดการประชุม