TimelineTimeline

เปิดเส้นทาง HAPPY UNIVERSITY

Image Image

ระยะเวลาโครงการปี 2565-2568 (ปัจจุบัน)

ภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขเป้าหมาย 60 แห่ง
โครงการ “ศูนย์วิชาการมหาวิทยาลัยแห่งความสุขกับการสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน” มีเป้าหมายในการ สร้างศูนย์วิชาการมหาวิทยาลัยแห่งความสุขกับการสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน และ ผลักดันให้ “มหาวิทยาลัยแห่งความสุข” เป็นนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม โดยครั้งนี้จะเปลี่ยนคำว่า วิสัยทัศน์เป็นคำว่า “เป้าหมายสูงสุด” ซึ่งก็คือ คือ การพัฒนา "ศูนย์วิชาการมหาวิทยาลัยแห่งความสุข" เพื่อมาขับเคลื่อนวัตถุประสงค์ทุกข้อของโครงการศูนย์วิชาการมหาวิทยาลัยแห่งความสุขกับการสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน โดยวิสัยทัศน์นี้ จะมีมาตั้งแต่เริ่มทำ Happy University ช่วงที่ 1 และยึดถือปฏิบัติมาจนถึงรอบปัจจุบัน

ระยะเวลาโครงการปี 2563-2565

ภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข 51 แห่ง
“โครงการสนับสนุนระบบปัญญานิเวศ Wisdom Ecosystem เพื่อสร้างเสริมมหาวิทยาลัยแห่ง ความสุขสู่องค์กรสุขภาวะอย่างที่ยั่งยืน” มีเป้าหมายในการ สร้างนวัตกรรมคือ “ระบบปัญญานิเวศ (Wisdom Ecosystem)”

จนในปัจจุบัน ปี 2565 จากประสบการณ์การพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งความสุขมายาวนานกว่า 10 ปี ประกอบกับข้อมูลสถานการณ์ความสุขของภาคีเครือข่ายจำนวนมากที่สะสมมาจากความทุ่มเทของทุก ๆ ฝ่ายในการทำงานสร้างเสริมความสุข รวมถึงศักยภาพอันเปี่ยมล้นของภาคีเครือข่ายที่แผ่ขยายมากขึ้น ทางสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้เล็งเห็นความพร้อมในการจัดตั้งหน่วยงานหลักขึ้นมา เพื่อให้การพัฒนาความสุขและคุณภาพชีวิตของบุคลากรในมหาวิทยาลัยรวมถึงสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทำได้อย่างเป็นโครงสร้างที่แข็งแกร่ง มีระบบกลไกที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน และได้กำหนดวิสัยทัศน์โครงการ เป็น "การสนับสนุน ระบบปัญญานิเวศ (Wisdom Ecosystem) เพื่อสร้างเสริม มหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่องค์กรสุขภาวะอย่างยั่งยืน ภายในปี 2565" ส่งผลให้บุคลากรและนักศึกษาที่อยู่ในสังคมไทยมีขีดความสามารถ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อสุขภาวะ ดังนั้นจึงเกิดเป็น

ระยะเวลาโครงการปี 2559-2561

ภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข 41 แห่ง
"โครงการการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรแบบยั่งยืน: จากมหาวิทยาลัยแห่งความสุขไปสู่องค์กรสุขภาวะ" มีเป้าหมายในการ ยกระดับ มหาวิทยาลัยแห่งความสุข (Happy University) สู่ มหาวิทยาลัยสุขภาวะ (Healthy University) โดยมีวิสัยทัศน์ เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรแบบยั่งยืนในมหาวิทยาลัย

ระยะเวลาโครงการปี 2556-2558

ภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข 17 แห่ง
"โครงการนวัตกรรมจัดการสร้างสุข: บูรณาการมหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่องค์กรสุขภาวะแห่งประเทศไทย" มีเป้าหมายในการ สร้างเสริมสุขภาวะและสมรรถนะคนทำงานในมหาวิทยาลัย ให้มีคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสุข โดยมีวิสัยทัศน์คือ "คนทำงานใน "มหาวิทยาลัยแห่งความสุข" มีคุณภาพชีวิตและมีความสุข เพื่อนำไปสู่ การมีศักยภาพในการทำงาน การมีสังคม และ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ"