วันลอยกระทง ลอยอย่างเป็นมิตร
วันลอยกระทงคงเป็นเทศกาลที่ไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จัก ภาพจำง่ายของวันนี้ก็คือการลอยกระทงลงแม่น้ำเพื่อถวายพระแม่คงคา ท่ามกลางบรรยากาศงานที่คล้ายกับงานวัดที่มีผู้คนทุกเพศทุกวัยมาเข้าร่วมกันอย่างคึกครื้น นอกจากนี้ยังมีการลอยโคมอีกด้วย
แต่หารู้ไม่ว่า วันลอยกระทงนี้แม้จะเป็นเทศกาลที่มีมานานและสร้างความสนุกสนานแก่ผู้เข้าร่วมอย่างมากแล้ว กับสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะทางน้ำอย่างรุนแรง
กระทงมีจำนวนไม่น้อยที่ทำจากวัสดุที่ย่อยสลายยากอย่างโฟม เมื่อนำไปลอยจึงเกิดปัญหาขยะอุดตันตามแหล่งน้ำ ยิ่งส่งผลร้ายใหญ่หากแหล่งน้ำที่ว่านั้นมีปลาหรือสัตว์น้ำต่างๆอาศัยอยู่และมันได้เผลอกินโฟมนั้นเข้าไปเพราะนึกว่าเป็นอาหาร ก็จะทำให้สัตว์น้ำเหล่านั้นตายเปล่าอีก ถึงแม้ว่าจะใช้กระทงใบตองหรือขนมปังที่ย่อยสลายได้หรือปลากินได้ แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าจำนวนผู้ลอยกระทงมีมากมายนัก ไม่มีทางที่ปลาในแหล่งน้ำจะกินทัน สุดท้ายก็ทำแหล่งน้ำนั้นเน่าอยู่ดี
จากสถิติของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร จำนวนกระทงที่เก็บได้ ในปี 2565 มีจำนวน 572,602 ใบ เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่จัดเก็บได้ 403,203 ใบ เพิ่มขึ้นจำนวน 169,367 ใบ คิดเป็นร้อยละ 42 โดยประเภทที่จัดเก็บได้ทำจากวัสดุธรรมชาติ 548,086 ใบ หรือร้อยละ 95.7 และทำจากโฟม 24,516 ใบ หรือร้อยละ 4.3
กระทงจากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน มีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 96.5 เป็น 95.7 ส่วนสัดส่วนของโฟมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.5 เป็น 4.3 [1]
เพราะฉะนั้นทางโครงการของเรามีหลักการ 3R มาแนะนำผู้อ่านทุกคนสำหรับการเที่ยวงานลอยกระทงโดยเฉพาะ
หลัก 3 R นั้นประกอบด้วย Reuse คือลดขนาดของกระทงเพื่อประหยัดทรัพยากร Reduce คือ การใช้กระทงร่วมกันในกรณีที่ไปเที่ยวกันเป็นกลุ่มเพื่อลดจำนวน และ Recycle คือใช้กระทงที่ทำขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ
จากสถิติข้อมูลชุดสำรวจทั่วประเทศ ปี 2565 จาก สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในมิติ Happy Society (สังคมดี) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 61.4% ซึ่งตามเกณฑ์นั้นถือว่าไม่ได้ต่ำกว่ามาตรฐาน แต่เราสามารถทำให้ค่าเฉลี่ยดังกล่าวนั้นสูงกว่านี้ได้ จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน [2]
ขอให้ทุกท่านสนุกสนานกับวันลอยกระทงและอย่าลืมคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมกันด้วยนะ
อ้างอิง
[1] “กทม.สรุป ‘ขยะกระทง’ ปี 65 เก็บได้ 572,602 ใบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42” [อินเทอร์เน็ต].[สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566]. จาก: https://workpointtoday.com/loy-kratong-4/
[2] ผลสำรวจคุณภาพชีวิตระดับประเทศประจำปี 2565 โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565).