สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ริเริ่มการศึกษาวิจัยและพัฒนา "มหาวิทยาลัยแห่งความสุข" ในประเทศไทย และได้รับการสนับสนุนจาก สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน มีภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขกว่า 41 แห่ง ซึ่งเกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ แต่ไม่ได้แปลว่างานสร้างเสริมความสุขของบุคลากรในรั้วมหาวิทยาลัยเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย แต่เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น!
หมายถึง มหาวิทยาลัยแห่งความสุข ที่ร่วมกัน
(1) ดำเนินแนวคิด “มหาวิทยาลัยแห่งความสุข” โดยอธิการบดีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากอธิการบดีเห็นชอบในแนวคิด หลักการ กระบวนการ
(2) ร่วมลงนามใน บันทึกความเข้าใจในข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding: MOU)
(3) ร่วมมืออนุมัติให้มีการสำรวจ “มหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่องค์การสุขภาวะ” ของบุคลากรและนักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัย ประเด็น คุณภาพชีวิต ความสุข ความผูกพันองค์กร และ สมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ภายใต้เป้าหมายที่กำหนดและเกณฑ์การสำรวจและการวัดของเครื่องมือ
(4) ให้ความร่วมมือในการอนุมัติบุคลากรเข้าร่วมอบรม เป็นนักสร้างสุของค์กร
(5) ได้ผลสำรวจ ออกมาเป็น ระดับ ค่าคะแนนเฉลี่ย “ความสุขภาพรวม” ระดับ มหาวิทยาลัย ระดับคณะ และ ระดับบุคคล
(6) นำผลสำรวจที่ได้ไปบริหารจัดการสร้างเสริม "มหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่องค์กรสุขภาวะอย่างยั่งยืน"
ปี พ.ศ. 2556 - 2558
ดำเนิน โครงการนวัตกรรมจัดการสร้างสุข: บูรณาการมหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่องค์กรสุขภาวะแห่งประเทศไทย
กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า
"คนทำงานใน "มหาวิทยาลัยแห่งความสุข" มีคุณภาพชีวิตและมีความสุข เพื่อนำไปสู่ การมีศักยภาพในการทำงาน การมีสังคม และ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ"
ปี พ.ศ. 2559 - 2562
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จาก สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ดำเนินโครงการ การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรแบบยั่งยืน: จากมหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่มหาวิทยาลัยสุขภาวะ โดยมีวิสัยทัศน์
เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรแบบยั่งยืนในมหาวิทยาลัย
ปี พ.ศ. 2563 - 2565
โครงการรอบที่ 3 นี้ กำหนด วิสัยทัศน์ เป็น
"การสนับสนุน ระบบปัญญานิเวศ (Wisdom Ecosystem) เพื่อสร้างเสริม มหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่องค์กรสุขภาวะอย่างยั่งยืน ภายในปี 2565"
ส่งผลให้บุคลากรและนักศึกษาที่อยู่ในสังคมไทยมีขีดความสามารถ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อสุขภาวะ
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ในการให้ความสำคัญกับบุคลากรในมหาวิทยาลัยทำงานอย่างมีความสุข มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน สร้างสังคมที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข และไปสู่สังคมรอบตัวที่มีความสุข
เป้าหมายความสำเร็จภายในปี 2565 มีดังต่อไปนี้
เพื่อสร้างกลไกสนับสนุนการสร้างเสริม มหาวิทยาลัยแห่งความสุขสู่องค์กรสุขภาวะ ร่วมกับภาคีเครือข่าย
เพื่อสร้างเสริมศักยภาพบุคคลากรในการเสริมสร้างสุขภาวะบุคคลและองค์กร ร่วมกับภาคีเครือข่าย
เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มนักศึกษา ร่วมกับภาคีเครือข่าย
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
หมายเลขต่อ
นางสาวปรียา พลอยระย้า ต่อ 538
นายมรุพัชร นามขาน ต่อ 426
วันจันทร์ - ศุกร์
happyuniversity.th@gmail.com