บทความทั่วไป : Happy Society ตอน สังคมสูงอายุ ปัญหาระดับชาติ


เนื่องจากเดือนนี้มี “วันประชากรโลก” ดังนั้นเลยอยากจะพูดถึงปัญหาสังคมที่เกี่ยวกับประชากรที่กำลังเป็นปัญหาอยู่สักหน่อย แถมยังใกล้ตัวของเราอีกด้วย

นั่นก็คือ.. “สังคมผู้สูงอายุ”


ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2565 โดยจำนวนผู้สูงอายุจะอยู่ประมาณร้อยละ 20-30 และประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 28 ในปี 2574 [1]


จากโพสต์ที่แล้ว สถิติการสำรวจการมีบุตรของคนทำงาน….จำนวนของผู้ที่มีบุตรมากกว่าผู้ที่มีบุตร โดยเฉพาะผู้ที่มีบุตรหลายคนนั้นจำนวนต่ำมาก โดยมีเพียง 5 % ทั้งๆที่ยุคก่อนนี้คนจะอยากมีลูกเยอะๆแท้ๆ


สาเหตุอาจจะมาจากการที่สภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ไม่ได้น่าอยู่เทียบเท่ากับยุคก่อน ทั้งๆที่เทคโนโลยีหรือความสะดวกสบายยังไม่ล้ำหน้าเท่า เป็นเรื่องที่น่าคิดเช่นกัน

ถ้าถามว่า มันเป็นปัญหาอย่างไร ...


อนาคตของเรานั้น ก็อาจจะมีแต่ผู้สูงอายุอย่างไรล่ะ…และนำไปสู่ภาวะขาดแคลนแรงงานในการขับเคลื่อนประเทศ นอกจากนี้ ผู้สูงวัยยังมีความเปราะบางทั้งกายและใจทำให้ความสามารถในบางด้านลดลงกว่าวัยรุ่นและวัยกลางคน [1]


ในปัจจุบันเริ่มมีวิธีการที่จะรับมือสถานการณ์ดังกล่าวมากขึ้น เช่น การขยายอายุเกษียณให้ยาวนานกว่า 60 ปี , สนับสนุนการจ้างงานผู้สูงอายุ , เพิ่มทักษะและการจัดหางานให้เหมาะสม และที่สำคัญที่สุดเลยก็คือ การยกระดับคุณภาพชีวิต 


เพราะนอกจากจะสามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถรองรับการเกิดใหม่ได้ดีอีกด้วย ดังนั้น การแก้ไขเชิงโครงสร้างน่าจะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ยั่งยืนที่สุด แต่ก็ยากที่สุดเช่นเดียวกัน [2]


นอกจากนี้ ยังมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ถูกละทิ้งจากทางภาครัฐหรือครอบครัวของตน บางรายอาการหนักถึงขั้นที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จากสถิติผู้สูงอายุชาวไทยในปัจจุบัน จำนวน 2 ใน 3 ไม่มีเงินออมในการใช้ชีวิตระยะยาว ส่วนผู้สูงอายุที่มีเงินออมมากกว่า 1 ล้านบาทนั้นมีเพียงร้อยละ 5 ของจำนวนผุ้สูงอายุทั้งหมด [2]  ซึ่งเป็นความเหลื่อมล้ำที่น่ากลัวมาก


ต้นตอของปัญหาอาจจะซับซ้อนและเชื่อมโยงกันกับหลายสิ่งเกินกว่าที่กล่าวบรรยายได้หมดในบทความสั้นๆเพียงบทเดียว ..


แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่กำลังเผชิญปัญหาอยู่ และ จะทำให้ประชากรยุคใหม่รู้สึกว่าสภาพแวดล้อมนั้นมีคุณภาพและปลอดภัยมากพอที่จะมีบุตร ได้มากน้อยเพียงไหนในอนาคตอันใกล้นี้


อ้างอิง

[1] การเผชิญหน้า ‘สังคมผู้สูงอายุ’ โจทย์ท้าทายภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น.[อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2566] . จาก: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/การเผชิญหน้า-‘สังคมผู้สูงอายุ’-โจทย์ท้าทายภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

[2] สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย[สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2566] . จาก: https://www.dop.go.th/th/know/15/926